สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated: IUU Fishing) ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พิธีการศุลกากรเฉพาะเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยมีอธิบดีกรมศุลกากรเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานฯ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2. จัดทำข้อตกลงระหว่างกรมศุลกากรและกรมประมง เรื่องการแก้ไขปัญหา การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาย และไร้การควบคุม (Memorandum of Arrangement Between the Thai Customs Department and the Department of Fisheries of the Kingdom of Thailand concerning the Control and Examination of Imported, Exported and Transited Aquatic Animals to Tackle Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไม่ให้มีการทำงานซ้ำซ้อน กำหนดขั้นตอนกี่ปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การตรวจสอบเรือก่อนเข้ามาในราชอาณาจักรจนเรือมาเทียบท่า การควบคุมการขนถ่าย ณ ท่าเทียบเรือ การควบคุมการขนส่งไปยังสถานประกอบการ/โรงงาน การตรวจสอบกระบวนการผลิตเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ การประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด
3. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกรมประมงกับกรมศุลกากรในการควบคุมตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำนำเข้า ส่งออก และนำผ่าน
4. จัดทำคำสั่งพิธีการเฉพาะเรื่องว่าด้วยพิธีการศุลกากรในการควบคุมสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากการทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการประกาศยกเลิก Green Line สำหรับสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์นำเข้ากลุ่มประเภทพิกัด 0302 0303 0304 และ 1604
5. ปรับปรุงระบบการจัดเห็นสถิติกานำเข้า-ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ของกรมศุลกากรให้มีความถูกต้องครบถ้วน และสอดคล้องกับการจัดเก็บสถิติของกรมประมงเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ให้มีประสิทธิผล โดยดำเนินการ
5.1 พัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมงโดยผ่านระบบ National Single Window: NSW ในเรื่อง
5.1.1 บัญชีสินค้าสำหรับเรือ
5.1.2 ใบอนุญาตสำหรับการนำเข้า ส่งออก และนำผ่าน
5.2 พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในเรื่องรูปแบบของการขนส่ง (Container, Carrier, Fishing Vessel)
6. กำหนดมาตรการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่/ผู้ประกอบการ
6.1 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดประเภทพิกัดศุลกากรในส่วนสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ระหว่างกรมศุลกากรและกรมประมงให้ถูกต้องตรงกัน
6.2 จัดอบรม/สัมมนาให้แก่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก และนำผ่าน รวมถึงผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator: AEO) ให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการสำแดงประเภทพิกัดศุลกากรสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง
7. กำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
7.1 เพิ่มความเข้มงวดในการทบทวนหลังจากตรวจปล่อย ณ ที่ทำการศุลกากร (Post Review) และการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Post Audit) ณ สถานประกอบการ คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร และเขตประกอบการเสรี
7.2 จัดตั้งศูนย์ต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ของกรมศุลกากร เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับ IUU Fishing รวมทั้งให้คำปรึกษษแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์
สนับสนุนข้อมูลโดย สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น