วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

AUS News: ออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่สำหรับกำรปิดฉลำกแจ้งชื่อประเทศผู้ผลิตสินค้ำ





GSO:2206-1/2011 Prepared Meats Meat Treated with Saline Solutions and Heat Treated

มาตรฐาน เรื่อง ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
version ภาษาอังกฤษที่ 
http://questin.org/intl-code/gso-2206-1-2011-prepared-meats-meat-treated-saline-solutions-and-heat-treated-draft-standard


ประเทศซาอุดิอาระเบีย และ GCC
มาตรฐาน เรื่อง ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
GSO:2206-1/2011 Prepared Meats
Meat Treated with Saline Solutions and Heat Treated
หน่วยงานกาหนดมาตรฐานแห่งกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GSO) เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาค
อันประกอบไปด้วยหน่วยงานมาตรฐานของประเทศสมาชิก หนึ่งในหน้าที่หลักของ GSO คือการประกาศ Gulf
Standards และ Technical regulation ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ (Specialized Technical
Committees (TCs)
จากที่ประชุม The Gulf Technical Committee for Food and Agricultural Standards Products
(TC No.5) ได้มอบหมายให้หน่วยงานด้านมาตรฐานของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ด าเนินการจัดเตรียมร่าง
มาตรฐานดังกล่าวโดยยึดมาตรฐานหรือข้อกาหนดที่นานาชาติให้การยอมรับ
1. ขอบข่าย
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป จากเนื้อโค อูฐ กระบือ แกะ กระต่าย หรือนกประจ าถิ่น ทั้งที่ผ่านการถนอม
ด้วยวิธีการแช่เย็นหรือแช่แข็ง เพื่อมาผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารด้วยสารละลายเกลือ ผ่านกระบวนการให้ความร้อน
และ/หรือผ่านการรมควัน ก่อนบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม จาเป็นต้องมีคุณภาพตามที่กาหนดไว้ในมาตรฐานฉบับนี้
2. ข้อกาหนดที่เกี่ยวข้อง
2.1 GSO 9 การแสดงฉลากสินค้าในบรรจุภัณฑ์
2.2 GSO 592 วิธีการสุ่มตัวอย่างเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์
2.3 GSO 1794 การปิดผนึกกระป๋องดีบุกเพื่อการผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง
2.4 GSO 655 วิธีการตรวจประเมินทางจุลชีววิทยาสาหรับเนื้อสัตว์ปลา หอย และผลิตภัณฑ์
2.5 GSO 20 วิธีการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนโลหะหนักในอาหาร
2.6 GSO 21 ข้อกาหนดด้านสุขลักษณะของสถานที่ผลิตอาหารและบุคลากร
2.7 GSO 22 วิธีการตรวจพิสูจน์การใช้สีในอาหาร
2.8 GSO ISO 2918 วิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไนเตรตในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์
2.9 GSO 993 ข้อกาหนดว่าด้วยการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม
2.10 GSO 795 วิธีการตรวจพิสูจน์สารกันหืนที่อนุญาตให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหาร
2.11 GSO 839 บรรจุภัณฑ์อาหารฉบับที่ 1 ข้อกาหนดทั่วไป
2.12 GSO 1863 บรรจุภัณฑ์อาหารฉบับที่2 ข้อกาหนดทั่วไป
2.13 GSO 1016 เกณฑ์ทางจุลินทรีย์ในอาหาร ฉบับที่1

GCC | มาตรฐานสินค้า : ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
2
www.thehalalfood.info
By National Food Institute, Thailand
2015
2.14 GSO 988 ระดับกัมมันตภาพรังสีสูงสุดที่อนุญาตให้พบได้ในอาหาร
2.15 GSO 998 วิธีการตรวจพิสูจน์ระดับนิวไคลด์กัมมันตรังสี
1
ในอาหารฉบับที่1 : รังสีแกมม่า
2.16 GSO CAC/MRL 02 ปริมาณยาสัตว์ตกค้างสูงสุดที่อนุญาตให้พบได้ในอาหาร
2.17 GSO/CAC 193 มาตรฐานทั่วไปสาหรับสารปนเปื้อนและสารพิษในอาหาร
มาตรฐานอื่นๆ ที่GSO ให้การยอมรับ และสามารถบังคับใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิก GCC ได้
2.18 วิธีการตรวจพิสูจน์เนื้อสุกรในผลิตภัณฑ์อาหาร
2.19 วิธีการตรวจพิสูจน์ไขมันจากสุกรในผลิตภัณฑ์อาหาร
2.20 ปริมาณสารกาจัดศัตรูพืชตกค้างสูงสุดที่อนุญาตให้พบได้ในอาหาร
2.21 วิธีการวิเคราะห์ปริมาณสารกาจัดศัตรูพืชตกค้างในอาหาร
2.22 วิธีการวิเคราะห์ปริมาณยาสัตว์ตกค้างในอาหาร
3. คาจ ากัดความ
3.1 เนื้อเค็ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ที่ก าหนดไว้ และต้องเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใด
ชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวเท่านั้น โดยตัดแต่งจากส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนมาผสมกันโดย
ปราศจากส่วนที่ไม่สามารถบริโภคได้เช่น กระดูก กระดูกอ่อน เครื่องใน น ามาผ่านกระบวนการ
ถนอมอาหารด้วยสารละลายเกลือ ผ่านกระบวนการให้ความร้อน และ/หรือผ่านการรมควัน ก่อน
บรรจุหีบห่อที่เหมาะสม
3.2 สารละลายเกลือ (Saline Solution) หมายถึง สารละลายที่เตรียมขึ้นจากการผสมน้าและ
เกลือบริโภคเข้าด้วยกันส าหรับจุ่มหรือฉีดพ่นเนื้อสัตว์ มีส่วนผสม คือ น้า เกลือด่าง (alkaline
salt) เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้าของเนื้อสัตว์รวมกับวัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันเสีย
สารกันหืน เครื่องเทศหรือสารปรุงแต่งกลิ่นรส
3.3 เนื้อเค็มไม่ผสม หมายถึง ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ถนอมด้วยสารละลายเกลือและความร้อน (ข้อ 3.1)
โดยผลิตจากเนื้อสัตว์ส่วนใดส่วนหนึ่งเพียงส่วนเดียว เช่น เนื้อส่วนอก ขา ตะโพก หรือท้อง ซึ่ง
จาเป็นต้องแสดงส่วนของเนื้อสัตว์บนฉลากสินค้าด้วย
3.4 เนื้อเค็มผสม หมายถึง ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ถนอมด้วยสารละลายเกลือและความร้อน (ข้อ 3.1)
โดยผลิตจากเนื้อสัตว์หลายส่วนผสมกัน เช่น เนื้อส่วนอก ขา ตะโพก หรือท้อง ซึ่งจ าเป็นต้อง
แสดงส่วนของเนื้อสัตว์บนฉลากสินค้าด้วย
3.5 เนื้อเค็มฝานเป็นชิ้น หมายถึง การน าผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มจากข้อ 3.3 หรือ 3.4 มาผ่านการฝาน
เป็นชิ้น และบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมด้วยระบบสุญญากาศ
1
Radionuclides : Gamma Spectrometry หมายถึง สารที่มีโครงสร้างอยู่ในสภาวะไม่เสถียร จึงมีการสลายตัวปล่อยอนุภาค และรังสีชนิดต่างๆ
ออกมา ได้แก่อนุภาคอัลฟ่า อนุภาคเบต้า และ รังสีแกมม่า (ที่มา : เวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยภาควิชาฟิสิกส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล)

GCC | มาตรฐานสินค้า : ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
3
www.thehalalfood.info
By National Food Institute, Thailand
2015
4. ข้อกาหนด
ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มตามมาตรฐานฉบับนี้จาเป็นต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องตามข้อก าหนดต่อไปนี้
4.1 เนื้อสัตว์ดังกล่าว ต้องมาจากการเชือดตามข้อก าหนดการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม
ตามที่ระบุไว้ใน GSO 993 (ข้อ 2.9)
4.2 วัตถุดิบและเครื่องปรุงรสทุกชนิด อาทิ เนื้อสัตว์ ส่วนผสมต่างๆ วัตถุเจือปนอาหารส าหรับใช้ใน
การผลิตเนื้อเค็ม ต้องมีคุณภาพสอดคล้องตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
4.3 กระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ต้องปฏิบัติตาม GSO 21 ข้อก าหนดด้านสุขลักษณะของสถานที่
ผลิตอาหารและบุคลากร (ข้อ 2.6)
4.4 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม ต้องปราศจากเนื้อสุกร ไขมันสุกร ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเนื้อหรือไขมัน
สุกรเป็นส่วนประกอบ
4.5 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม ต้องผลิตมาจากเนื้อสัตว์อันได้แก่ เนื้อโค อูฐ กระบือ แกะ กระต่าย หรือนก
ประจาถิ่น เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
4.6 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม ต้องมีกลิ่นรส (flavor) ตรงตามคุณลักษณะของเนื้อสัตว์ที่น ามาใช้ในการผลิต
หรือมีกลิ่นรมควันตามธรรมชาติในกรณีที่รมควันร่วมด้วย
4.7 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มต้องมีลักษณะเนื้อสัมผัสเรียบ เนียน เป็นเนื้อเดียวกัน และสามารถฝานเป็นชิ้น
ได้
4.8 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มต้องมีในช่วงสีน้าตาลอ่อน (light brown) จนถึงสีน้าตาลเข้ม (dark brown)
จากการผ่านกระบวนการให้ความร้อนและ/หรือรมควันที่เหมาะสม
4.9 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มต้องไม่แต่งสีสังเคราะห์
4.10 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มต้องปราศจากสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ผิวหน้าต้อง
แห้งปราศจากเมือกหรือสัญญาณของการเน่าเสียใดๆ
4.11 เนื้อสัตว์ที่ใช้ ต้องอยู่ภายใต้อุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ตลอดกระบวนการจนกว่าจะเข้าสู่
กระบวนการให้ความร้อนหรือรมควัน อีกทั้งยังต้องดูแลให้ปลอดการปนเปื้อน การเน่าเสีย หรือ
ความเสียหายต่างๆ
4.12 ต้องให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์จนมั่นใจได้ว่าเหมาะสมต่อการบริโภคของมนุษย์
4.13 ปริมาณเนื้อสัตว์ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละบรรจุภัณฑ์ต้องมีปริมาณไม่ต่ากว่าร้อยละ 80 โดยน้าหนัก
และมีปริมาณโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ต่ากว่าร้อยละ 16 โดยน้าหนัก (ไม่รวมไขมัน)
4.14 ปริมาณความชื้นในผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 4 เท่าตัวของปริมาณโปรตีน คลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ
10
4.15 ปริมาณสารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์ ต้องไม่เกินระดับที่ก าหนดไว้ใน GSO/CAC 193
(ข้อ 2.17)
4.16 ปริมาณจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กาหนดไว้ใน GSO 1016 (ข้อ 2.16)

GCC | มาตรฐานสินค้า : ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
4
www.thehalalfood.info
By National Food Institute, Thailand
2015
4.17 ปริมาณสารกาจัดศัตรูพืชตกค้างในผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกินระดับที่ GSO ให้การยอมรับ (ข้อ 2.20)
4.18 ปริมาณยาสัตว์ตกค้างในผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กาหนดไว้ใน GSO CAC/MRL 02
4.19 ระดับกัมมันตภาพรังสีที่ตรวจพบในผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกินระดับที่กาหนดไว้ใน GSO 988 (ข้อ 2.14)
4.20 วัตถุเจือปนอาหาร
4.20.1 สารกันเสีย
- ปริมาณไนไตรต์ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องไม่เกิน 125 ppm ในรูป Sodium Nitrite
4.20.2 สารกันหืน
- กรดแอสคอร์บิค และ/หรือกรดไอโซแอสคอร์บิค และเกลือของกรดดังกล่าว ทั้งใช้
เพียงชนิดเดียว หรือผสมกันพบได้ไม่เกิน 500 ppm วิเคราะห์ในรูปกรดแอสคอร์บิค
หรือ
- กรดอีริทอร์บิกและ/หรือกรดไอโซอีริทอร์บิก และเกลือของกรดดังกล่าว ทั้งใช้
เพียงชนิดเดียว หรือผสมกันพบได้ไม่เกิน 500 ppm วิเคราะห์ในรูปกรดอีริทอร์บิก
4.20.3 สารเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้า
- Sodium phosphate และ/หรือ Potassium phosphate ทั้งเชิงเดี่ยว เชิงคู่ หรือ
เชิงซ้อน ทั้งใช้เพียงชนิดเดียวหรือผสมกันพบได้ไม่เกิน 3,000 ppm ในรูป P2O5
4.20.4 สารปรับสภาพเนื้อสัมผัส
- วุ้น (agar) หรือคาร์ราจีแนน (carrageenan) สามารถใช้ได้ในปริมาณที่เพียงพอ
ต่อการปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์(GMP)
- Sodium aliginate และ/หรือ Potassium aliginate พบได้ไม่เกิน 1.0 ppm
4.20.5 คาร์โบไฮเดรต
- สามารถใช้ซูโครส เด็กซ์โทรส แลคโตส มอลโตส กลูโคส และน้าผึ้ง ทั้งใช้เพียงชนิด
เดียว หรือผสมกันพบได้ไม่เกินร้อยละ 3.5
4.20.6 สารปรุงแต่งกลิ่นรส สามารถใช้ส่วนผสมเหล่านี้ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการปรับปรุง
กลิ่นรสของผลิตภัณฑ์(GMP)
- เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส
- สารให้กลิ่นรสตามธรรมชาติหรือเลียนธรรมชาติ
- ควันธรรมชาติในรูปของเหลว

GCC | มาตรฐานสินค้า : ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
5
www.thehalalfood.info
By National Food Institute, Thailand
2015
4.20.7 สารปรับปรุงกลิ่นรส ทั้งใช้เพียงชนิดเดียวหรือผสมกันพบได้ไม่เกิน 5,000 ppm
- Mono-sodium glutamate
- Di-sodium guanylate
- Di-sodium inosinate
4.21 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มนาเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม GCC ต้องปฏิบัติตามข้อกาหนดดังต่อไปนี้
4.21.1 กรณีน าเข้าเนื้อสัตว์จากประเทศที่มีการระบาดโรคตามที่ระบุไว้ในกฎว่าด้วยการกักกัน
(Quarantine Rule) ซึ่งก าหนดโดยประเทศสมาชิก GCC จ าเป็นต้องได้รับการอนุญาตน าเข้า
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของ GCC ก่อนการนาเข้าเนื้อสัตว์ดังกล่าว
4.21.2 ล๊อตสินค้าที่น าเข้า ต้องมีใบรับรองการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม ที่ออกให้โดย
สถานกงสุลของประเทศสมาชิก GCC หรือผู้แทน โดยในใบรับรองต้องระบุชนิดสัตว์ วันที่เชือด
ผลการตรวจพิสูจน์ว่าปลอดโรคติดต่อ และมีความเหมาะสมสาหรับการบริโภค
4.21.3 ล๊อตสินค้าที่น าเข้า ต้องมีใบรับรองแหล่งก าเนิดสินค้า (Country of Origin) ที่ออกให้
โดยสถานกงสุลของประเทศสมาชิก GCC หรือผู้แทน
5. การสุ่มตัวอย่างเพื่อการประเมินคุณภาพ
ก าหนดให้ด าเนินการสุ่มตัวอย่างตามวิธีที่ก าหนดไว้ใน GSO 592 ว่าด้วยเรื่องวิธีการสุ่มตัวอย่างเนื้อสัตว์
และผลิตภัณฑ์ (ข้อ 2.2)
6. วิธีการทดสอบ และตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์
ตัวแทนของผลิตภัณฑ์จากการสุ่มตัวอย่างตามวิธีที่ก าหนดในข้อ 5 ต้องผ่านการทดสอบ และตรวจ
วิเคราะห์คุณภาพด้านต่างๆ ดังนี้
6.1 วิธีการตรวจประเมิน
6.1.1 ตรวจประเมินทางจุลชีววิทยาส าหรับเนื้อสัตว์ ปลา หอย และผลิตภัณฑ์ ตามวิธีการ
ที่กาหนดไว้ใน GSO 655 (ข้อ 2.4)
6.1.2 ตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ตามวิธีการที่กาหนดไว้ใน GSO 20 (ข้อ 2.5)
6.1.3 ตรวจพิสูจน์สารให้สีตามวิธีการที่กาหนดไว้ใน GSO 22 (ข้อ 2.7)
6.1.4 ตรวจวิเคราะห์ปริมาณไนไตรต์ตามวิธีการที่กาหนดไว้ใน GSO ISO 2918 (ข้อ 2.8)
6.1.5 ตรวจพิสูจน์สารกันหืนตามวิธีการที่กาหนดไว้ใน GSO 795 (ข้อ 2.10)
6.1.6 ตรวจพิสูจน์เนื้อสุกรในผลิตภัณฑ์ (ข้อ 2.18)
6.1.7 ตรวจพิสูจน์ไขมันจากสุกรในผลิตภัณฑ์ (ข้อ 2.19)
6.1.8 ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกาจัดศัตรูพืชตกค้างในผลิตภัณฑ์ (ข้อ 2.21)

GCC | มาตรฐานสินค้า : ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
6
www.thehalalfood.info
By National Food Institute, Thailand
2015
6.1.9 ตรวจวิเคราะห์ปริมาณยาสัตว์ตกค้างในผลิตภัณฑ์ (ข้อ 2.22)
6.1.10 ตรวจพิสูจน์ระดับนิวไคลด์กัมมันตรังสีในผลิตภัณฑ์ตามวิธีการที่ก าหนดไว้ใน GSO 998
(ข้อ 2.15)
6.2 ตัวแทนของผลิตภัณฑ์จากการสุ่มตัวอย่างตามวิธีที่ก าหนดในข้อ 5 ต้องผ่านการทดสอบ
ในรายการต่างๆ ตามระบุไว้ในข้อ 6.1 เพื่อประเมินความสอดคล้องกับข้อก าหนดต่างๆ ตาม
มาตรฐานฉบับนี้
7. การบรรจุ ขนส่ง และเก็บรักษา
นอกเหนือจากข้อก าหนดที่ระบุใน GSO 9 ว่าด้วยการแสดงฉลากสินค้าในบรรจุภัณฑ์ (ข้อ 2.1) และ
มาตรฐานของ GSO ว่าด้วยเรื่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกสาหรับการบรรจุอาหาร (ข้อ 2.13) ผลิตภัณฑ์ปลาเค็มต้องใช้
บรรจุภัณฑ์ตามข้อกาหนดดังนี้
7.1 การบรรจุ
7.1.1 บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ ผลิตจากวัสดุที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการ
ปนเปื้อนระหว่างการเก็บรักษา การขนส่ง ตลอดจนการขนย้ายผลิตภัณฑ์
7.1.2 ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ถูกบรรจุปิดสนิทขณะร้อน ต้องรีบน าผลิตภัณฑ์ที่บรรจุปิดสนิทแล้ว
ออกจากบริเวณการผลิตโดยเร็ว และเก็บรักษาภายใต้สุขลักษณะที่ดี
7.1.3 ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็มที่ถูกหั่นหรือฝานในโรงงานแปรรูปเพื่อการจ าหน่ายปลีก ต้องบรรจุ
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมด้วยระบบสุญญากาศ
7.2 การขนส่งและเก็บรักษา
7.2.1 รถขนส่งและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 0 ถึง 5 องศา
เซลเซียส
7.2.2 ตลอดการขนส่งและเก็บรักษา ต้องปกป้องผลิตภัณฑ์จากความเสียหายทั้งทางกายภาพ
และการเสื่อมสภาพ
7.2.3 ผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผลิต
7.2.4 ผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศที่ถูกเปิดออกมาแล้วนั้น หลังจากเปิดแล้ว เมื่อเก็บรักษา
ในช่องแช่เย็น และไม่ให้ผลิตภัณฑ์สัมผัสอากาศโดยตรง มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
7.2.5 ผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 9 เดือน

GCC | มาตรฐานสินค้า : ผลิตภัณฑ์เนื้อเค็ม
7
www.thehalalfood.info
By National Food Institute, Thailand
2015
8. การแสดงฉลาก
นอกเหนือจากข้อก าหนดที่ระบุใน GSO 9 ว่าด้วยการแสดงฉลากสินค้าในบรรจุภัณฑ์ (ข้อ 2.1) ฉลาก
สาหรับผลิตภัณฑ์ปลาเค็มต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้
8.1 ชื่อผลิตภัณฑ์ และชนิดของเนื้อที่ใช้พร้อมทั้งระบุปริมาณในหน่วยร้อยละโดยน้าหนัก
8.2 ปริมาณของไขมัน ในหน่วยร้อยละโดยน้าหนัก ระบุด้วยการเน้นตัวอักษรให้เข้ม
8.3 ปริมาณของเกลือ ในหน่วยร้อยละโดยน้าหนัก ระบุด้วยการเน้นตัวอักษรให้เข้ม
8.4 ปริมาณวัตถุเจือปนอาหาร สารเพิ่มเนื้อ สารกันเสีย ในหน่วยร้อยละโดยน้าหนัก
8.5 แนะนาสภาวะการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
เอกสารอ้างอิง
Codex Alimentarius Commission Alinorm 83/16 Report of the Twelfth Session of the Codex
committee on processed Meat and poultry products.
Leatherehead Food R.A. Food Legislation Surveys No . 6. Heavy Metals in Foods .Second
Edition, 1986.
Codex Alimentrarius commission 11/1991 codex committee on Additives and contaminants
Twenty-Third session
Codex Alimentrarius volume 10/1994 Page: 19- 30 Codex Standard for cooked cured
chopped meat 1981/98






ประกาศจากอย. : อย. ออกประกาศคุมเข้มเครื่องสำอาง ต้องผ่านการตรวจสถานที่ผลิตหรือนำเข้าก่อนขอจดแจ้ง


ประกาศจากอย.: อย. ย้ำ ! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยาลดอ้วน



วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Food News: สรุปรวมข่าวประจำพ.ค.จาก มกอช.วันที่ 15-26/5/2561

สหรัฐฯประกาศบังคับใช้ระเบียบ SIMP ต่อสินค้ากุ้งและหอยเป๋าฮื้อ
                ในสหรัฐอเมริกา กฎระเบียบตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำนำเข้า (Seafood Import Monitoring Program: SIMP) ได้มีผลบังคับแล้วใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา แต่ทว่า กฎระเบียบนี้ครอบคลุมสัตว์น้ำกลุ่มเสี่ยงเพียงแค่ 11 ชนิดพันธุ์ โดยยังไม่ได้รวมกุ้งซึ่งเป็นสินค้าสัตว์น้ำที่มีการนำเข้ามากที่สุดของสหรัฐฯและหอยเป๋าฮื้อในตอนนั้น เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีข้อกำหนดด้านการตรวจสอบแหล่งที่มาสำหรับผู้ผลิตในสหรัฐฯ
                ต่อมา เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะ ขยายการบังคับใช้กฎระเบียบ SIMP ให้ครอบคลุมกุ้งและหอยเป๋าฮื้อด้วย โดยจะเริ่มบังคับใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2561
                ทั้งนี้ ซึ่งกฎระเบียบ SIMP ฉบับล่าสุดนี้จะครอบคลุมสัตว์น้ำกลุ่มเสี่ยงรวมแล้วเป็น 13 ชนิดพันธุ์ อีกทั้ง ได้กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าสัตว์น้ำกลุ่มเสี่ยงนี้ยื่นชุดข้อมูลเพิ่มถึง 17 ประเด็น

ต้องติดฉลากสารก่อให้เกิดอาการแพ้ของผักลูปินในออสเตรเรียและนิวซีแลนด์
                สำนักงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลียนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand :FSANZ) ได้แจ้งเตือนมาตรการให้บริษัทผลิตอาหารต้องติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ของผักลูปิน (lupin) โดยต้องเริ่มติดฉลากในวันที่ 26 พฤษภาคม 2561 เนื่องจากผักดังกล่าวมีสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยปกติในออสเตรเลียไม่นิยมนำผักลูปินมาใช้ประกอบอาหาร แต่ด้วยความที่มีโปรตีน และกากใยที่สูงจึงมีความพยายามนำผักดังกล่าวมาใช้ประโยชน์มากขึ้น 
                ทั้งนี้ ในปี 2560 ผักลูปินได้ถูกเพิ่มลงไปในรายชื่อผักที่ต้องติดฉลากโดยระบุว่ามีสารก่อให้เกิดการแพ้ ซึ่งผู้ประกอบการอาหารมีเวลาในการติดฉลากทั้งหมดภายใน 12 เดือนหลังจากออกมาตราการ ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะถูกวางจำหน่ายแล้วก็ตาม  โดยการติดฉลากเพื่อระบุว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีสารก่อให้เกิดการแพ้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภคอีกด้วย

อินเดียเตรียมประกาศระเบียบติดฉลาก GM บนผลิตภัณฑ์อาหาร
                หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของอินเดีย (The Food Safety and Standards Authority of India : FSSAI) ได้ประกาศร่างระเบียบการติดฉลากอาหารฉบับปรับปรุงความยาวกว่า 42 หน้า ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการติดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปรพันธุกรรม (GMO) และฉลากโภชนาการ ซึ่งถือเป็นการประกาศการติดฉลาก GMO เป็นครั้งแรก เนื่องจากก่อนหน้านี้อินเดีย ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ผลิตติดฉลาก GMO ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่ทราบว่าอาหารที่ซื้อไปนั้นมีส่วนผสมที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมหรือไม่ โดยระเบียบใหม่ได้กำหนดเกณฑ์ในการติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารที่มีส่วนผสมของ GMO มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ให้ติดฉลากว่า "มีส่วนผสมของ GMO"  และสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ ไขมัน น้ำตาล และเกลือในปริมาณสูง จะต้องติดแถบสีแดง ในกรณีที่มีสัดส่วนของพลังงานมาจากส่วนผสมของน้ำตาลมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานทั้งหมด โดยการติดฉลากแถบสีจะช่วยให้ผู้บริโภครับทราบถึงคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
                ทั้งนี้องค์กรสาธารณะเพื่อต่อต้าน GMO อินเดีย (Coalition for a GM-Free India) ได้คัดค้านการติดฉลากดังกล่าวเนื่องจากว่าเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้า GMO เข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งทางองค์กรคาดว่ารัฐจะกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อรองรับสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มากกว่าเป็นข้อกำหนดกฎหมายที่ส่งผลให้เห็นฉลาก GMO ง่ายขึ้น

FDA ปรับขยายเวลาระเบียบติดฉลากโภชนาการใหม่
                เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ประกาศกฎระเบียบว่าด้วยการติดฉลากโภชนาการล่าสุด ซึ่งได้ขยายเวลาการปฏิบัติตามกฎระเบียบจากเดิมที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ขยายเป็นวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มียอดขายต่อปีไม่เกินกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะได้ขยายระยะเวลาการปรับตัวเพิ่มอีกหนึ่งปีเป็นวันที่ 1 มกราคม 2564
                ทั้งนี้ การปรับขยายระยะเวลาบังคับใช้ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากการเปิดให้ลงความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ตระหนักถึงความต้องการเพิ่มช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการ จึงได้มีการขยายเวลาเพิ่มอีก 18 เดือน ที่คาดว่าจะเพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนฉลากใหม่ของผู้ประกอบการที่ส่งความเห็นเข้ามาจำนวนมาก

เมริกาเรียกคืนไส้กรอกร้อยกว่าตันเหตุไม่ติดฉลากสารก่อภูมิแพ้
                เมื่อวันพุธที่ผ่านมาทางการรัฐมิชิแกนได้เรียกคืนไส้กรอกมากกว่า 308,000 ปอนด์ หรือกว่า 139,706 กิโลกรัม เนื่องจากความผิดพลาดในการแสดงฉลากและ ไม่ได้ติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ ที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบกว่า 44 รายการ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ถูกเรียกคืนผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2560 ถึง 29 เมษายน 2561 ในสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรสหรัฐเลขที่ 5694 และจัดส่งไปจำหน่ายตามศูนย์กระจายสินค้า และร้านอาหารทั่วไป
                โดยวันที่ 12 พฤษภาคม 2561 ผู้ปฏิบัติในสถานประกอบการพบข้อสังเกตระหว่างการผลิตสินค้า  เนื่องจากทางผู้ประกอบการสังเกตเห็นฉลากส่วนผสมเครื่องเทศที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตไส้กรอกเนื้อมีส่วนผสมของโปรตีนถั่วเหลือง แต่ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวกลับไม่ได้ติดฉลากที่ระบุสารก่อภูมิแพ้ลงไปหลังผลิตเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าไส้กรอกเนื้อจะเป็นไส้กรอกชนิดเดียวที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง ก็ยังคงมีไส้กรอกอีกหลายชนิดที่ถูกเรียกคืนเนื่องจากว่าอาจมีการปนเปื้อนข้ามในอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างการผลิต แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับรายงานถึงผลข้างเคียงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว  โดยสำนักงานความปลอดภัยอาหารและการตรวจสอบอาหาร (FSIS) ได้ประกาศเตือนร้านอาหาร รวมถึงผู้บริโภคอีกว่าควรทิ้งหรือนำสินค้าดังกล่าวไปคืน ซึ่ง FSIS ยังคงติดตามการเรียกคืนสินค้าจากผู้ประกอบการอีกด้วย

องค์การอนามัยโลกออกนโยบายควบคุมไขมันทรานส์
                เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้เสนอวิธีการกำจัดไขมันทรานส์ (Trans fat) ออกจากอาหารแปรรูปทั่วโลก เรียกว่า REPLACE เนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันอันตรายที่ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจจำนวนมากถึง 5 แสนคนต่อปี ไขมันทรานส์มักจะมีอยู่ในขนมขบเคี้ยว ขนมเบเกอรี่ และของทอดต่างๆ ด้วยเหตุที่มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าไขมันประเภทอื่น จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้กันในกระบวนการผลิตอาหาร ดังนั้น REPLACE จึงเป็นยุทธศาสตร์ 6 ขั้นตอนที่จะสามารถกำจัดไขมันทรานส์ได้อย่าง รวดเร็ว หมดจด และยั่งยืน ดังนี้
     1. RE มาจากคำว่า Review หมายถึง การตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของไขมันทรานส์ เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายตามความเหมาะสม                                                   
     2. P มาจากคำว่า Promote หมายถึง สนับสนุนการใช้ไขมันประเภทอื่นแทนไขมันทรานส์
     3. L มาจากคำว่า Legislate หมายถึง การออกกฎหมายข้อบังคับต่างๆเพื่อกำจัดไขมันทรานส์
     4. A มาจากคำว่า Assess หมายถึง คอยตรวจสอบปริมาณไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร และปริมาณการบริโภคไขมันทรานส์ของประชาชน
     5. C  มาจากคำว่า Create หมายถึง การสร้างความตระหนักถึงผลเสียที่ไขมันทรานส์มีต่อสุขภาพ ทั้งในทางภาครัฐ ผู้ประกอบการ และ ประชาชน
     6. E มาจากคำว่า Enforce หมายถึง การบังคับใช้กฎหมายข้อบังคับต่างๆ
                ทั้งนี้ หลายประเทศที่มีรายได้สูงได้ควบคุมปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารก่อนหน้านี้แล้ว ด้วยการจำกัดปริมาณไขมันทรานส์ที่อนุญาตให้อยู่ในอาหารได้ซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น เดนมาร์กมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดหัวใจลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงบางประเทศห้ามใช้น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenated oil) ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นหลักของไขมันทรานส์ อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยยังคงขาดการควบคุมดูแลในลักษณะนี้ 
               อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ REPLACE อาจจะประสบปัญหาในการนำไปปฏิบัติได้ เนื่องจากองค์การอนามัยโลกไม่มีอำนาจในการออกหรือบังคับใช้กฎหมาย ทำได้เพียงสนับสนุนประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตาม REPLACE เท่านั้น

ออสซี่ เริ่มบังคับใช้ฉลากแหล่งกำเนิดอาหาร ก.ค 61
                เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำออสเตรเลีย ประกาศแจ้งเตือนผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าอาหารเกี่ยวกับการบังคับใช้ข้อกำหนดการติดฉลากระบุประเทศแหล่งกำเนิดอาหารตามข้อกำหนดใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 (IFN 03-18- Country of Origin Labelling from 1 July 2018) ซึ่งข้อกำหนดการติดฉลากระบุประเทศแหล่งกำเนิดอาหารฉบับใหม่ ภายใต้มาตรฐานข้อมูลการติดฉลากระบุประเทศแหล่งกำเนิดอาหาร ฉบับปี 2559 (The Country of Origin Food Labelling information Standard 2016) มีระยะเวลาผ่อนผัน 2 ปี และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 นี้
                ทั้งนี้ อาหารที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญ (Priority foods) จะต้องเพิ่มรูปภาพ และข้อมูลตามที่กำหนด เช่น โลโก้ กราฟแท่ง และข้อความภายในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนอาหารที่ไม่ใช่สินค้าที่สำคัญ (Non-priority foods) สามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ได้ตามความสมัครใจ และสินค้าในกลุ่มนี้ที่กำหนดให้แสดงข้อความแหล่งกำเนิดสินค้าบนฉลากนั้น ได้แก่ เครื่องปรุง ขนมหวาน บิสกิตและขนมขบเคี้ยว น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำอัดลม เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกฮอล์

ผลงานวิจัยใหม่แมลงวันผลไม้เป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรีย
                มีผลงานวิจัยใหม่ฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่า แมลงวันผลไม้สามารถถ่ายทอดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายจากพื้นผิวภาชนะที่ปนเปื้อนสู่อาหาร ซึ่งในปัจจุบันแมลงดังกล่าวมีปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์การทำอาหาร โดยผลการวิจัยยังระบุอีกว่า แมลงดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของอาหารเทียบเท่ากับแมลงชนิดอื่นเช่น แมลงสาป หนู และแมลงวันบ้าน จากผลการวิจัยทางห้องปฏิบัติการยังพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นพาหะของเชื้ออีโคไล เชื้อซาลโมเนลลา และเชื้อแบคทีเรียลิสทีเรีย ซึ่งระบุว่าค่าเฉลี่ยแมลงวันผลไม้ 1 ตัวสามารถแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียได้มากถึง 1000 ตัว ทั้งนี้ ผลข้างเคียงของการติดเชื้อดังกล่าวอาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย อาเจียน หรืออาการที่มาจากโรคที่เกิดจากอาหารต่างๆ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรป้องกันด้วยการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรืออุปกรณ์ต่างๆในห้องครัวอีกด้วย

อ.ย. สหรัฐฯควบคุมการใช้ PHOs
               สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration, USFDA) ได้มีมาตรการควบคุมการใช้น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (partially hydrogenated oils: PHOs) ในกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของไขมันทรานส์ (trans fat)
                ในปี 2015 สำนักงานฯได้แจ้งว่าน้ำมัน PHOs ไม่ปลอดภัยสำหรับอาหารคน และมีความประสงค์ที่จะถอดถอนน้ำมัน PHOs ออกจากอาหารให้หมด โดยต้องการให้ผู้ประกอบการเลิกใช้น้ำมัน PHOs และได้ให้เวลาผู้ประกอบการ 3 ปีในการปลับเปลี่ยนสูตรการผลิตเพื่อที่จะไม่ใช้น้ำมัน PHOs แต่ทว่า สำนักงานฯได้ขยายเวลาออกไปอีก 2 ปีจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2020 เพื่อช่วยให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                โดยก่อนหน้านี้ ได้มีผู้ประกอบการรายหนึ่งขออนุญาตใช้น้ำมันดังกล่าวในการผลิตอาหาร ซึ่งทางสำนักงานฯได้ปฏิเสธไปแล้ว ด้วยให้เหตุผลว่า ไขมันทรานส์เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของชาวอเมริกันจากโรคหัวใจต่างๆ การเลิกใช้น้ำมัน PHOs จึงเป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน 

สหรัฐฯมองว่าเนื้อไก่สดจากจีนไม่ปลอดภัย
                สหรัฐฯปฏิเสธการนำเข้าเนื้อไก่สดทั้งที่เลี้ยงและเชือดในจีน แต่อนุญาตนำเข้าเฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูปจากจีนหรือที่ใช้เนื้อไก่จากประเทศอื่นที่ได้มาตรฐานมาโดยตลอดเท่านั้น ด้วยเหตุที่ว่า หน่วยงานความปลอดภัยขด้านอาหารและบริการตรวจสอบของสหรัฐฯ (Food Safety and Inspection Service, FSIS) พบว่า ระบบความปลอดภัยอาหารและการตรวจสอบสำหรับการแปรรูปเนื้อไก่ของจีนนั้นมีความเท่าเทียมกับของสหรัฐฯ รวมถึง การนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปจากจีนจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานและการควบคุมของสหรัฐฯ
                อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯจะยังคงปฏิเสธเนื้อไก่สดจากจีนต่อไป เนื่องจากเป็นการปกป้องผู้บริโภคชาวสหรัฐ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของจีนรายงานว่า ผู้ประกอบการจีนมีพฤติกรรมละเมิดกฎความปลอดภัยของอาหารมากถึง 500,000 ครั้งเฉพาะในไตรมาสแรกของปี 2559 นับเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน ยากต่อหารแก้ไขสำหรับจีน