วิจัยพบคลอรีฆ่าเชื้อในผักผลไม้ไม่ได้!
คลอรีนเป็นสารที่ใช้ฆ่าเชื้อในผักผลไม้สดซึ่งใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมเกษตร แต่ทว่า งานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันแห่งสหราชอาณาจักร (University of Southampton) พบว่าคลอรีนไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคทางอาหาร (foodborne pathogen) ได้
งานวิจัยนี้ จงใจทำให้ใบผักโขม (spinach leaf) ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรียและซาลโมเนลลา (Listeria monocytogenes และ Salmonella enterica) และสเปรย์คลอรีนลงบนใบเหล่านั้น ผลลัพธ์คือ เชื้อเหล่านี้แปรสภาพเข้าสู่สภาวะ viable but nonculturable (VBNC) ซึ่งหมายความว่า เชื้อนี้ยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงสรุปได้ว่า คลอรีนไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลิสเทอเรียและซาลโมเนลลาได้ เพียงแต่ยับยั้งการเจริญเติบโตเท่านั้น
งานวิจัยนี้ จงใจทำให้ใบผักโขม (spinach leaf) ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรียและซาลโมเนลลา (Listeria monocytogenes และ Salmonella enterica) และสเปรย์คลอรีนลงบนใบเหล่านั้น ผลลัพธ์คือ เชื้อเหล่านี้แปรสภาพเข้าสู่สภาวะ viable but nonculturable (VBNC) ซึ่งหมายความว่า เชื้อนี้ยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงสรุปได้ว่า คลอรีนไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลิสเทอเรียและซาลโมเนลลาได้ เพียงแต่ยับยั้งการเจริญเติบโตเท่านั้น
สรุปข่าวโดยมกอช.
แหล่งข่าวต้นทาง
https://www.southampton.ac.uk/news/2018/04/foodborne-illness-study.page
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น