ฝรั่งเศสออกระเบียบติดฉลากแสดงคุณค่าทางโภชนาการ
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 รัฐบาลฝรั่งเศสลงนามออกระเบียบการติดฉลากรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Nutri-score หวังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพิ่มมาตรฐานด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร และป้องกันการเกิดโรค พร้อมต่อยอดผลักดันเพื่อใช้ทั้งสหภาพยุโรป
ข้อกำหนดการติดฉลากรูปแบบใหม่จะกำหนดให้มีการแสดงคุณค่าทางโภชนาการไว้บริเวณด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ โดยแสดงเป็นสีตั้งแต่สีเขียวแก่ถึงสีส้มแก่ร่วมกับตัวอักษร A ถึง E ซึ่งอักษร A หมายถึงมีคุณค่าทางโภชนาการดีที่สุด E คือมีคุณค่าทางโภชนาการด้อยกว่า
ทางการฝรั่งเศสกล่าวว่า รูปแบบการติดฉลากในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจและเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ง่าย และหวังว่าผู้บริโภคจะนำไปใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อสินค้า อันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดโรคกลุ่ม NCDs (กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน) การบริโภคที่ไม่สมดุลและภาวะอ้วนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังจะพยายามผลักดันให้กลุ่มสหภาพยุโรปใช้ระบบดังกล่าวอีกด้วย
ข้อกำหนดการติดฉลากรูปแบบใหม่จะกำหนดให้มีการแสดงคุณค่าทางโภชนาการไว้บริเวณด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ โดยแสดงเป็นสีตั้งแต่สีเขียวแก่ถึงสีส้มแก่ร่วมกับตัวอักษร A ถึง E ซึ่งอักษร A หมายถึงมีคุณค่าทางโภชนาการดีที่สุด E คือมีคุณค่าทางโภชนาการด้อยกว่า
ทางการฝรั่งเศสกล่าวว่า รูปแบบการติดฉลากในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจและเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ง่าย และหวังว่าผู้บริโภคจะนำไปใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อสินค้า อันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดโรคกลุ่ม NCDs (กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน) การบริโภคที่ไม่สมดุลและภาวะอ้วนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังจะพยายามผลักดันให้กลุ่มสหภาพยุโรปใช้ระบบดังกล่าวอีกด้วย
ที่มา: foodnavigator.com สรุปโดย: มกอช.
ไต้หวัน แจ้งพบไข่ปนเปื้อน fipronil เพิ่ม
สภาเกษตรไต้หวัน (COA) แจ้งผลการสุ่มตรวจสอบไข่ไก่ภายในฟาร์มสัตว์ปีก ที่เมือง Changhua พบมีการปนเปื้อนสาร Fipronil เพิ่ม ซึ่งเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ประกาศสั่งห้ามฟาร์มสัตว์ปีกดังกล่าวเคลื่อนย้ายไข่กว่า 8000 ฟอง ออกจากพื้นที่ พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เร่งดำเนินการตรวจสอบ และสั่งเรียกคืนที่วางจำหน่าย
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ดำเนินการสอบสวนผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์ปีก ซึ่งให้การปฏิเสธว่าไม่เคยใช้สารดังกล่าวภายในฟาร์ม จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจมาจากการใช้สาร Fipronil ในภาคการเกษตร โดยก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการปนเปื้อนสาร Fipronil ในฟาร์มสัตว์ปีกจำนวน 3 แห่ง ที่เมือง Changhua โดยมีปริมาณตกค้างสูงสุดอยู่ที่ 5 ppb เมื่อเดือน สิงหาคม 2560ข่าวเพิ่มเติม http://www.acfs.go.th/warning/viewEarly.php?id=6001
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ดำเนินการสอบสวนผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์ปีก ซึ่งให้การปฏิเสธว่าไม่เคยใช้สารดังกล่าวภายในฟาร์ม จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจมาจากการใช้สาร Fipronil ในภาคการเกษตร โดยก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการปนเปื้อนสาร Fipronil ในฟาร์มสัตว์ปีกจำนวน 3 แห่ง ที่เมือง Changhua โดยมีปริมาณตกค้างสูงสุดอยู่ที่ 5 ppb เมื่อเดือน สิงหาคม 2560ข่าวเพิ่มเติม http://www.acfs.go.th/warning/viewEarly.php?id=6001
ที่มา: thepoultrysite.com สรุปโดย: มกอช.
รัสเซียแบนสินค้านำเข้าเพิ่มเติมอีกหลายรายการ
รัสเซียขยายการแบนสินค้าเกษตร วัตถุดิบและสินค้าอาหารนำเข้าจากประเทศ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ยูเครน อัลเบเนีย มอนเตเนโกร ไอซ์แลนด์ และ ลิกเตนสไตน์ อีกหลายรายการ มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ประกอบด้วย
- สุกรมีชีวิต (ยกเว้นพ่อแม่พันธุ์แท้)
- ผลพลอยได้จากวัว สุกร แกะ แพะ ม้า ลิง ล่อ ที่ใช้รับประทานได้ ทั้งในรูปสินค้าสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง ยกเว้นสินค้าที่ใช้ในการผลิตยา
- ไขมันที่แยกได้จากเนื้อสุกร และไขมันสัตว์ปีก ทั้งในรูปสินค้าสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง เติมเกลือ แช่ในน้ำซอส ทำแห้งหรือรมควัน
- ไขมันและน้ำมันหมู ไขมันจากสัตว์ปีก แกะ วัว และแพะ
- น้ำมันหมู สเตียริน (stearin) จากสุกร oleostearin, oleo oil หรือน้ำมันที่ได้จากสัตว์อี่นๆ รวมทั้งที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความคงตัว (emulsified) และผสมหรือเตรียมได้จากวิธีอื่นๆ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรรัสเซียชี้แจงว่าการห้ามนำเข้าสินค้าเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ
- สุกรมีชีวิต (ยกเว้นพ่อแม่พันธุ์แท้)
- ผลพลอยได้จากวัว สุกร แกะ แพะ ม้า ลิง ล่อ ที่ใช้รับประทานได้ ทั้งในรูปสินค้าสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง ยกเว้นสินค้าที่ใช้ในการผลิตยา
- ไขมันที่แยกได้จากเนื้อสุกร และไขมันสัตว์ปีก ทั้งในรูปสินค้าสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง เติมเกลือ แช่ในน้ำซอส ทำแห้งหรือรมควัน
- ไขมันและน้ำมันหมู ไขมันจากสัตว์ปีก แกะ วัว และแพะ
- น้ำมันหมู สเตียริน (stearin) จากสุกร oleostearin, oleo oil หรือน้ำมันที่ได้จากสัตว์อี่นๆ รวมทั้งที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความคงตัว (emulsified) และผสมหรือเตรียมได้จากวิธีอื่นๆ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรรัสเซียชี้แจงว่าการห้ามนำเข้าสินค้าเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ
ที่มา: government.ru สรุปโดย: มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น