วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

EU Food News_EU ขึ้นทะเบียนสารสกัดจากถั่วเหลืองหมักให้เป็น Novel Food รายใหม่

เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศลงใน EU Official Journal L 18/50 Commission Implementing Decision (EU) 2017/115 of 20 January 2017 authorising the placing on the market of fermented soybean extract as a novel food ingredient under Regulation (EC) No 258/97 of the European Parliament and of the Council ว่าด้วย การอนุญาตให้สารสกัดจากถั่วเหลืองหมักขึ้นบัญชีอาหารที่ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่ (Novel food)  โดย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
               ๑.  ความเดิม : เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ บริษัท Japan Bio Science Laboratory ได้ยื่นคำร้องต่อทางการเบลเยี่ยม เพื่อขอขึ้นทะเบียนสารสกัดจากถั่วเหลืองหมัก (fermented soybean extract) ให้อยู่ในบัญชีรายชื่ออาหารที่ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่ (Novel food)  ของสหภาพยุโรป โดยจาก การประเมินผลของทางการเบลเยี่ยมในเบื้องต้นได้ลงความเห็นว่า สารสกัดดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดของ Novel food อย่างไรก็ดี ยังคงมีประเทศสมาชิก EU บางประเทศที่ได้ลงความเห็นคัดค้าน ดังนั้น ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘ ทางคณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้ขอให้หน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ทำการประเมินผลเพื่อตัดสินสารสกัดจากถั่วเหลืองหมัก ภายใต้ Regulation (EC) No 258/97
                ๒. การประเมินผลของ EFSA : ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙  EFSA ได้ลงความเห็นว่า สารสกัดจากถั่วเหลืองหมักเพื่อใช้เป็นอาหารเสริม (food supplement) สำหรับผู้ใหญ่ ไม่มีอันตราย (ยกเว้นหญิง ตั้งครรภ์และมารดาที่อยู่ในระหว่างให้นม) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการบริโภคที่ผู้ยื่นคำร้องระบุไว้ โดยกำหนด สัดส่วนการบริโภคว่า ไม่ควรบริโภคเกินกว่า ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น EFSA จึงเห็นควรอนุญาต ให้สารสกัดจากถั่วเหลืองหมัก ทั้งในลักษณะแคปซูล อัดเม็ด และชนิดผง ให้อยู่ในบัญชีรายชื่อ Novel food ของ EU ได้นับแต่นี้ไป โดยติดฉลากสินค้าให้ถูกต้องตาม Regulation (EC) No 258/97 และ Regulation (EU) No 1169/2011
                    อย่างไรก็ดี จากการทดลองของ EFSA พบว่า สารสกัดจากถั่วเหลืองหมักมีส่วนผสมของ เอนไซม์นัตโตะไคเนส  (Nattokinase) ซึ่งเมื่อทดลองฉีดสารดังกล่าวเข้าในตัวสัตว์ พบว่า ก่อให้เกิดปฏิกริยา การสลายลิ่มเลือด (fibrinolytic) และการละลายลิ่มเลือด (thrombolytic) ดังนั้น จึงเห็นควรให้ผู้ที่บริโภค สารสกัดจากถั่วเหลืองหมักดังกล่าว ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในกรณีที่มีการรับประทานยาอื่นๆ ไป พร้อมๆ กับการใช้สารสกัดจากถั่วเหลืองหมักดังกล่าว                
                ๓. สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ดังนี้
                ๔. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป

                        โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น