ฟิลิปปินส์วางแผนเตรียมขยายตลาดสินค้าฮาลาล ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนฟิลิปปินส์ ที่ขณะนี้พบว่า มีจำนวนบริษัทหลายรายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ได้ยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากหน่วยตรวจสอบรับรองภายในประเทศ โดยเร็วๆ นี้ ฟิลิปปินส์ได้จัดตั้งคณะกรรมการฮาลาล เพื่อวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์การรับรองสินค้าฮาลาลอีกด้วย
นอกจากนี้ ศูนย์การค้าและการลงทุนของฟิลิปปินส์ (PTIC) หน่วยงานภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (DTI) ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และดูไบ ยังได้เร่งผลักดันและส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากฟิลิปปินส์ไปตลาดคู่ค้าอย่างแข็งขัน เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าฮาลาลรายใหญ่ของโลก อีกทั้ง ยังให้บริการข่าวสารทางการตลาดและการค้าให้แก่ผู้ส่งอออก สนับสนุนการจับคู่ภาคธุรกิจกับตลาดใหม่ๆ และการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มสินค้าฮาลาลและสินค้าบำรุงรักษาร่างกาย รวมทั้งได้ดำเนินงานร่วมกับองค์กรมุสลิมต่างๆ เพื่อขยายโอกาสการส่งออกในอาเซียนอีกด้วย นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์ ยังได้จัดทำโครงการการท่องเที่ยวฮาลาลเพื่อรับรองบริการมาตรฐานอาหารฮาลาลในสถานประกอบการต่างๆ เช่น โรงพยายาล รีสอร์ท และโรงแรม อีกด้วย
การมุ่งขยายตลาดฮาลาลของฟิลิปปินส์ในครั้งนี้ คาดว่าเป็นผลสืบเนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้า ฮาลาลที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลกสูงถึง 200,000 ล้านเหรียญเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้ง คาดการณ์ว่าสัดส่วนประชากรชาวมุสลิม จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 26.4 ของประชากรโลกทั้งหมด ภายในปี 2030 นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่เข้ามาเที่ยวในฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องเร่งเตรียมรองรับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวด้วย
อนึ่ง กลุ่มสินค้าอาหารฮาลาลที่ผลิตและจำหน่ายโดยฟิลิปปินส์ เช่น ธัญพืช เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ขนม ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม แป้ง อาหารเสริม เจลาติน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์นม บะหมี่ พาสต้า น้ำมัน ไก่ เนื้อสัตว์ ผลไม้แปรรูป ผัก สินค้าทะเล อาหารสดและอาหารแช่แข็ง ซอสต่างๆ ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าขณะนี้ ฟิลิปปินส์จะไม่เป็นผู้ผลิตรายหลักในตลาดฮาลาล แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพภูมิอากาศประเทศเขตร้อน ผนวกกับความหลากหลายของทรัพยากร จะเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ฟิลิปปินส์ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าฮาลาลหลักในเขตเอเชียได้
นอกจากนี้ ศูนย์การค้าและการลงทุนของฟิลิปปินส์ (PTIC) หน่วยงานภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (DTI) ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และดูไบ ยังได้เร่งผลักดันและส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากฟิลิปปินส์ไปตลาดคู่ค้าอย่างแข็งขัน เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าฮาลาลรายใหญ่ของโลก อีกทั้ง ยังให้บริการข่าวสารทางการตลาดและการค้าให้แก่ผู้ส่งอออก สนับสนุนการจับคู่ภาคธุรกิจกับตลาดใหม่ๆ และการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มสินค้าฮาลาลและสินค้าบำรุงรักษาร่างกาย รวมทั้งได้ดำเนินงานร่วมกับองค์กรมุสลิมต่างๆ เพื่อขยายโอกาสการส่งออกในอาเซียนอีกด้วย นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์ ยังได้จัดทำโครงการการท่องเที่ยวฮาลาลเพื่อรับรองบริการมาตรฐานอาหารฮาลาลในสถานประกอบการต่างๆ เช่น โรงพยายาล รีสอร์ท และโรงแรม อีกด้วย
การมุ่งขยายตลาดฮาลาลของฟิลิปปินส์ในครั้งนี้ คาดว่าเป็นผลสืบเนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้า ฮาลาลที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลกสูงถึง 200,000 ล้านเหรียญเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้ง คาดการณ์ว่าสัดส่วนประชากรชาวมุสลิม จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 26.4 ของประชากรโลกทั้งหมด ภายในปี 2030 นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่เข้ามาเที่ยวในฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องเร่งเตรียมรองรับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวด้วย
อนึ่ง กลุ่มสินค้าอาหารฮาลาลที่ผลิตและจำหน่ายโดยฟิลิปปินส์ เช่น ธัญพืช เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ขนม ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม แป้ง อาหารเสริม เจลาติน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์นม บะหมี่ พาสต้า น้ำมัน ไก่ เนื้อสัตว์ ผลไม้แปรรูป ผัก สินค้าทะเล อาหารสดและอาหารแช่แข็ง ซอสต่างๆ ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าขณะนี้ ฟิลิปปินส์จะไม่เป็นผู้ผลิตรายหลักในตลาดฮาลาล แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพภูมิอากาศประเทศเขตร้อน ผนวกกับความหลากหลายของทรัพยากร จะเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ฟิลิปปินส์ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าฮาลาลหลักในเขตเอเชียได้
ที่มา: Business Mirror สรุปโดย: มกอช.
ข้อคิดเห็น : ไทยเรามีมุสลิมมิน้อย (ยังไม่รวมนักท่องเที่ยวแต่ละปี) เราต้องใช้โอกาสปรับปรุงหรือทำระบบ Halal แบบจริงจังเพื่อสร้างความมั่นใจต่อลูกค้า ซึ่งจะเพิ่มโอกาสทางการค้าอีกเยอะเลยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น