วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

EU Food News_สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU และสินค้าไทยที่มีปัญหาในปี ๒๕๕๘

สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU และสินค้าไทยที่มีปัญหาในปี ๒๕๕๘
640x390_660095_1438949896
๑. สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU
         ๑.๑ ภาพรวม ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค. – พ.ย. ๕๘ การส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น  ๓,๑๖๘.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๔๙๐ ล้านเหรียญสหรัฐหรือ -๑๓.๔%  เทียบกับ ช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า) แบ่งออกเป็น
-     การส่งออกสินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม, ปศุสัตว์, ประมง) ๑,๗๘๑.๕ ล้านเหรียญ สหรัฐหรือคิดเป็นสัดส่วน ๕๖%  ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU ทั้งหมด
-     การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ๑,๓๘๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น สัดส่วน ๔๔% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU ทั้งหมด
                                 EU นับเป็นตลาดส่งออกที่มีความสำคัญอันดับ ๔ ของไทย รองจากกลุ่มอาเซียน (๗,๖๗๗.๑  ล้านเหรียญสหรัฐ) ประเทศญี่ปุ่น  (๔,๒๙๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐ) และสหรัฐอเมริกา (๓,๓๑๗.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ
ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญของไทย
ประเทศ
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐ
อัตราขยายตัว (%)
สัดส่วน (%)
ม.ค.-พ.ย. 57
ม.ค.-พ.ย. 58
ม.ค.-พ.ย. 57
ม.ค.-พ.ย. 58
ม.ค.-พ.ย. 57
ม.ค.-พ.ย. 58
รวมทุกประเทศ
35,935.6
33,637.1
-1.64
-6.40
100.00
100.00
อาเซียน (9)
7,713.1
7,677.7
2.73
-0.46
21.64
22.83
ญี่ปุ่น
4,535.8
4,299.2
-9.19
-5.22
12.62
12.78
สหรัฐอเมริกา
3,471.5
3,317.1
-3.39
-4.45
9.66
9.86
สหภาพยุโรป (27)
3,658.3
3,168.3
-4.40
-13.39
10.18
9.42
ที่มาข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
                    ๑.๒ สินค้าเกษตรกรรมที่ไทยส่งออกไป  EU มากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ ไก่แปรรูป ๗๑๒.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๖๕.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า) ยางพารา ๓๒๒.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๕๗.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ) ข้าว ๑๘๘.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๑๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ)  เนื้อและส่วนต่างๆของสัตว์ที่บริโภคได้ ๑๘๘.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ๘.๔ ล้าน เหรียญสหรัฐ)  ปลาหมึกสด แช่เย็น แช่แข็ง ๙๑ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๔๓.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ)
นอกจากนี้ สินค้าเกษตรกรรมอื่นๆที่มูลค่าการส่งออกไป EU ลดลงมากเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ลดลง ๑๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ) ไก่สด แช่เย็นและแช่แข็ง (ลดลง ๔๓.๘ ล้าน เหรียญสหรัฐ) กุ้งสด แช่เย็นและแช่แข็ง (ลดลง ๙๓.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ)
                  ๑.๓ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ไทยส่งออกไป EU มากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป ๓๑๙.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๙๔.๑ ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับปีก่อน หน้า) ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป ๓๐๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ๕.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ)  อาหารสัตว์เลี้ยง ๑๖๔.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ๖.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ๑๒๓.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ) สิ่งปรุงรสอาหาร ๑๐๕.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๗.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ)
นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่นๆที่มีมูลค่าการส่งออกไป EU ลดลงมากเทียบ ปีก่อนหน้า ได้แก่ ผักกระป๋องแปรรูป (ลดลง ๑๓.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ) ไขมันและน้ำมันจากพืช/สัตว์ (ลดลง ๖๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ)

๒. สินค้าที่ EU ตรวจพบว่ามีปัญหาในรายงานการแจ้งเตือนภัยด้านอาหาร (RASFF) ปี ๒๕๕๘
                    ๒.๑ ภาพรวม จากรายงาน RASFF ของ EU ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค. – ธ.ค. ​๕๘ มีการ ตรวจพบสินค้าเกษตร-อาหารที่มีปัญหาจากทุกประเทศรวมทั้งหมด ๒,๙๙๐ รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ มาจากประเทศจีน (๓๗๒ รายการ) ตุรกี (๒๗๔ รายการ) และอินเดีย (๒๗๑ รายการ)
                    สินค้าเกษตร-อาหารจากไทยที่ถูกทาง EU แจ้งเตือนว่ามีปัญหามีจำนวนมากเป็นอันดับ ๑๔ หรือรวม ๗๐ รายการในปี ๒๕๕๘ (ลดลงจาก ๙๐ รายการในปี ๒๕๕๗) แบ่งเป็น สินค้าที่ได้มีการวางขาย ในท้องตลาดแล้ว (Alert notification) ๙ รายการ สินค้าที่ยังไม่ได้มีการวางขายในตลาด (information notification) ๒๘ รายการ และสินค้าที่ถูกควบคุม ณ ด่านนำเข้า (Border rejection) อีก  ๓๓ รายการ
                    ๒.๒ สินค้ากลุ่มที่ EU ตรวจพบว่ามีปัญหามากที่สุด ได้แก่ พืชผัก ผลไม้ (๑,๔๙๕ รายการ) อาหารแปรรูป (๕๑๒ รายการ) สินค้าสัตว์น้ำ (๔๘๐ รายการ) สินค้าจากปศุสัตว์ (๓๕๐ รายการ) และวัสดุที่ ใช้สัมผัสกับอาหาร (๑๕๓ รายการ)
                    สินค้าเกษตร-อาหารจากไทยกลุ่มที่ถูก EU ตรวจพบว่ามีปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ สินค้าจาก ปศุสัตว์ (๒๙ รายการ) รองลงมา คือ พืชผัก ผลไม้ (๒๗ รายการ) สินค้าสัตว์น้ำ (๑๐ รายการ) อาหาร แปรรูปและวัสดุที่ใช้สัมผัสกับอาหาร (อีก ๓ รายการ)
                     ๒.๓ ประเทศสมาชิก EU ที่แจ้งพบสินค้ามีปัญหามากที่สุด ได้แก่ อิตาลี (๕๑๗ รายการ) สหราชอาณาจักร (๓๓๕ รายการ) เยอรมนี (๒๗๐ รายการ) เนเธอร์แลนด์ (๒๕๘ รายการ) และฝรั่งเศส (๒๓๕ รายการ)     
                     ประเทศสมาชิก EU ที่แจ้งพบสินค้าที่มีปัญหาจากไทยมากที่สุด คือ เนเธอร์แลนด์ (๒๔ รายการ) รองลงมา คือ สหราชอาณาจักร (๑๐ รายการ) เยอรมนี (๗ รายการ) เดนมาร์ก (๕ รายการ) และฟินแลนด์ (๔ รายการ)
                    ๒.๔ รายละเอียดปัญหาที่ทาง EU ตรวจพบ แบ่งเป็น
                    -         ปัญหาสารตกค้างต่างๆ รวมทั้งหมด ๑,๔๖๕ รายการ ได้แก่ ปัญหาสารตกค้าง จำพวกสารพิษจากเชื้อรา aflatoxins (๔๙๐ รายการ) สารปราบศัตรูพืช (๔๐๐ รายการ) สารเคมีต่างๆ (๒๗๘ รายการ)  สารโลหะหนัก (๑๖๓ รายการ) สารสีหรือสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมี ปริมาณสูงเกินกำหนด (๗๙ รายการ) และปัญหาจากยารักษาโรคสัตว์ต้องห้ามหรือไม่ได้รับอนุญาต (อีก ๕๕ รายการ) โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากตุรกี (๒๔๒ รายการ) จีน (๑๘๓ รายการ) และอินเดีย (๙๑ รายการ)
                    -         ปัญหาการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งสกปรกต่างๆ รวมทั้งหมด ๘๙๐ รายการ ได้แก่ การตรวจพบเชื้อ Salmonella (๕๑๐ รายการ) เชื้อ Listeria monocytogenes (๑๐๒ รายการ) และเชื้อ Escherichia coli (๖๗ รายการ) ที่เหลือเป็นปัญหาจากเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ปรสิต ซากแมลงและ อาหารเน่าเสีย (อีก ๒๑๑ รายการ)  โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย (๑๕๐ รายการ)  ฝรั่งเศส (๗๖ รายการ) และโปแลนด์ (๗๐ รายการ)
                    -         ปัญหาจากการควบคุมมาตรฐานสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งหมด ๖๓๕ รายการ ได้แก่ ปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐานสุขอนามัย (๒๘๘ รายการ) อาหารมีส่วนประกอบที่ไม่ได้แจ้งไว้ (๑๓๗ รายการ) การปนเปื้อนจากวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร  (๑๓๕ รายการ) ที่เหลือเป็นปัญหาการปนเปื้อนจากเศษวัสดุต่างๆ และฉลากอาหารไม่ถูกต้อง (อีก ๗๕  รายการ) โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน (๑๖๔ รายการ)
สำหรับสินค้าเกษตร-อาหารจากไทยที่ถูก EU ตรวจพบว่ามีปัญหามีรายละเอียด ดังนี้
                   -         ปัญหาสารตกค้างประเภทต่างๆ รวมทั้งหมด ๒๒ รายการ โดยไทยมีปัญหานี้มากเป็น อันดับที่ ๑๒ เทียบกับทุกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาสารตกค้างจากสารเคมี (๗ รายการ) รองลงมา คือ สารตกค้างจากสารปราบศัตรูพืช (๗ รายการ) สารพิษจากเชื้อรา  aflatoxins (๓ รายการ)  สารโลหะหนัก (๒ รายการ) และสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีปริมาณสูงเกินกำหนด (๒ รายการ)
                   -         ปัญหาการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งสกปรกต่างๆ รวมทั้งหมด ๓๙ รายการ โดยไทยมีปัญหานี้มากเป็นอันดับที่ ๘ เทียบกับทุกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากเชื้อ Salmonella มาก ที่สุด (๓๔ รายการ)  โดยเฉพาะการตรวจพบ Salmonella ในเนื้อไก่ แช่เย็นแช่แข็ง  ที่เหลือเป็นปัญหา จากเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆและอาหารเน่าเสีย (๕ รายการ)
                   -         ปัญหาจากการควบคุมมาตรฐานสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งหมด ๙ รายการ โดยไทยมี ปัญหานี้มากเป็นอันดับที่​​​ ๑๖ เทียบกับทุกประเทศ แบ่งเป็น ปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐานสุขอนามัย (๔ รายการ) อาหารมีส่วนประกอบที่ไม่ได้แจ้งไว้ (๔ รายการ) และปัญหาการปนเปื้อนจากวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร (๑ รายการ)

โดย  : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น