วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง “เพิ่มศักยภาพนักธุรกิจไทยโดยใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ AEC”

 วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมริเวอร์ ซิตี้ จังหวัดมุกดาหาร
--------------------------------------------
นับเป็นโอกาสที่ดี หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก จะได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระเบียบการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยอาศัยอานาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ เป็นองค์กรหลัก กำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่มีอยู่ในความรับผิดชอบหลายรายการ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการค้าข้อตกลงและพันธกรณีระหว่างประเทศ และที่สำคัญจะได้ทราบความคืบหน้าของความตกลงทางการค้าเสรี

♦สินค้าที่มีมาตรการนำเข้า–ส่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ มีจำนวนทั้งสิ้น 99 รายการ แบ่งเป็นสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า 62 รายการ สินค้าที่มีมาตรการส่งออก 22 รายการ สินค้าที่มีทั้งมาตรการนำเข้าและส่งออก 6 รายการ และสินค้าที่มีมาตรการคว่ำบาตร 9 ประเทศ

♦ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงทั้งสิ้น 12 ความตกลง ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ไทย-อินเดีย (TIFTA) อาเซียน-จีน (ACFTA) อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) อาเซียน-เกาหลี (AKFTA) อาเซียน-อินเดีย (AIFTA) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ไทย-เปรู (TPCEP) และไทย-ชิลี (TCFTA) เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสินค้าส่งออก ซึ่งแต่ละ ความตกลงมีขั้นตอน กฎระเบียบ รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติในการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎ ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

♦ล่าสุดสาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile) ประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงเป็นอันดับต้นๆ ของลาตินอเมริกาในปี 2557 ชิลีเป็นคู่ค้าไทยในอันดับที่ 42 ของโลก และอันดับ 3 ในภูมิภาค ลาตินอเมริการองจากบราซิล และอาร์เจนติน่า โดยการยกเลิกภาษีศุลกากรของชิลี ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 7,129 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมด เช่น รถยนต์และยานยนต์ ปลาทูน่า ลิฟท์ โพลิเอทิลีน สับปะรด เป็นต้น ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ดังนั้น ชิลีจึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการรองรับการขยาย การส่งออกของสินค้าไทย

พบกับแนวทางการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงต่างๆ อาทิเช่น
• การบริหารนำเข้า–ส่งออก สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม
• การบุกตลาดลาตินอเมริกากับความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี (TCFTA)
• เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก AEC
• ผลิตถูกกฎ : ลดภาษีตามสิทธิ
• ทำฟอร์มถูกต้อง รับรองได้สิทธิลดภาษี

ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สามารถสมัครได้ทาง www.dft.go.th หรือส่งแบบตอบรับฯ ได้ทางโทรสารหมายเลข 02 547 4816 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ (คุณเบญจพร) โทร. 02 547 4855 หรือสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 9 (มุกดาหาร) โทร. 042 612 870 และ DFT Center 1385

สมัครและ download กำหนดการจาก

ที่นี่เลยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น