อาหารประเภทผักผลไม้บางชนิด เช่น เมล็ดแอปริคอตดิบ ประกอบไปด้วยไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (cyanogenic glycosides) ที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภค เพราะสารดังกล่าวสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ที่เป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ โดยก่อนหน้านี้มีรายงานการเกิดพิษจากการบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบใน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป
ในปี 2554 มีผู้บริโภคในควีนส์แลนด์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบที่มีไซยาไนด์ในปริมาณที่สูง และในปี 2557 ขณะที่หน่วยงาน Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) ประกาศเตือนการบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบ ก็มีผู้บริโภคในรัฐ Western Australia ต้องเข้ารับการรักษาหลังการบริโภค หลังจากที่ FSANZ ได้ประเมินความเสี่ยงของอาหารที่มีไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ พบว่าเมล็ดแอปริคอตดิบทั้งมีเปลือกและลอกเปลือก สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยอย่างเฉียบพลัน
ดังนั้นในเดือนกันยายน 2558 คณะกรรมการ FSANZ จึงได้อนุมัติข้อเสนอกฎระเบียบที่ห้ามจำหน่ายเมล็ดแอปริคอตดิบ และในเดือนพฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีได้ยอมรับกฎระเบียบดังกล่าว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558
ในปี 2554 มีผู้บริโภคในควีนส์แลนด์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบที่มีไซยาไนด์ในปริมาณที่สูง และในปี 2557 ขณะที่หน่วยงาน Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) ประกาศเตือนการบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบ ก็มีผู้บริโภคในรัฐ Western Australia ต้องเข้ารับการรักษาหลังการบริโภค หลังจากที่ FSANZ ได้ประเมินความเสี่ยงของอาหารที่มีไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ พบว่าเมล็ดแอปริคอตดิบทั้งมีเปลือกและลอกเปลือก สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยอย่างเฉียบพลัน
ดังนั้นในเดือนกันยายน 2558 คณะกรรมการ FSANZ จึงได้อนุมัติข้อเสนอกฎระเบียบที่ห้ามจำหน่ายเมล็ดแอปริคอตดิบ และในเดือนพฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีได้ยอมรับกฎระเบียบดังกล่าว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558
ที่มา: FSANZ (06/01/59)
มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น