กระทรวงอุตสาหกรรม นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย ประกาศระเบียบใหม่สำหรับการปิดฉลาก แจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าอาหาร (Country of Origin Food Labelling Reform) นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนให้ระเบียบดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายผู้บริโภคออสเตรเลียจากเดิมที่เคยอยู่ภายใต้มาตรฐานอาหาร โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และมีระยะเวลาผ่อนผันให้ผู้ประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ปี (ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561)
โดยสิ่งสำคัญในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ คือ ฉลากสำหรับอาหารส่วนใหญ่ที่ปลูก ผลิต หรือทำในออสเตรเลียจะต้องมีสัญลักษณ์รูปจิงโจ้ในกรอบสามเหลี่ยม พร้อมทั้งกราฟแท่งและข้อความแสดงสัดส่วนองค์ประกอบจากออสเตรเลีย ซึ่งข้อกำหนดใหม่จะบังคับใช้กับอาหารที่จำหน่ายปลีกในออสเตรเลีย โดยไม่ครอบคลุมอาหารที่จำหน่ายในภัตตาคาร ร้านกาแฟ ร้านอาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน หรือ โรงเรียน ทั้งนี้ หากเป็นอาหารที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญ (Priority foods) จะต้องเพิ่มรูปภาพและข้อมูลตามที่กำหนด เช่น โลโก้ กราฟแท่ง และข้อความภายในกรอบสี่เหลียมสำหรับสินค้าอาหารที่ไม่ใช่สินค้าที่สำคัญ (Non-priority foods) สามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ได้ตามความสมัครใจ
อย่างไรก็ตามระเบียบการปิดฉลากแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารจะมีผลกระทบต่ออาหารที่นำเข้ามาในออสเตรเลียน้อยมาก และสินค้านำเข้ายังคงต้องปิดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น Product of Thailand, Made in Canada เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดใหม่สำหรับข้อความ Made in และ Packed in โดยจะต้องแสดงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกรอบสี่เหลี่ยม และหากมีส่วนผสมจากออสเตรเลียอาจใช้ฉลากมาตรฐาน ซึ่งมีการแสดงกราฟแท่งและข้อความสัดส่วนของส่วนผสมที่มาจากออสเตรเลีย
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.industry.gov.au/industry/industrysectors/foodmanufacturingindustry/Pages/country-of-origin-labelling.aspx
โดยสิ่งสำคัญในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ คือ ฉลากสำหรับอาหารส่วนใหญ่ที่ปลูก ผลิต หรือทำในออสเตรเลียจะต้องมีสัญลักษณ์รูปจิงโจ้ในกรอบสามเหลี่ยม พร้อมทั้งกราฟแท่งและข้อความแสดงสัดส่วนองค์ประกอบจากออสเตรเลีย ซึ่งข้อกำหนดใหม่จะบังคับใช้กับอาหารที่จำหน่ายปลีกในออสเตรเลีย โดยไม่ครอบคลุมอาหารที่จำหน่ายในภัตตาคาร ร้านกาแฟ ร้านอาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน หรือ โรงเรียน ทั้งนี้ หากเป็นอาหารที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญ (Priority foods) จะต้องเพิ่มรูปภาพและข้อมูลตามที่กำหนด เช่น โลโก้ กราฟแท่ง และข้อความภายในกรอบสี่เหลียมสำหรับสินค้าอาหารที่ไม่ใช่สินค้าที่สำคัญ (Non-priority foods) สามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ได้ตามความสมัครใจ
อย่างไรก็ตามระเบียบการปิดฉลากแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารจะมีผลกระทบต่ออาหารที่นำเข้ามาในออสเตรเลียน้อยมาก และสินค้านำเข้ายังคงต้องปิดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น Product of Thailand, Made in Canada เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดใหม่สำหรับข้อความ Made in และ Packed in โดยจะต้องแสดงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกรอบสี่เหลี่ยม และหากมีส่วนผสมจากออสเตรเลียอาจใช้ฉลากมาตรฐาน ซึ่งมีการแสดงกราฟแท่งและข้อความสัดส่วนของส่วนผสมที่มาจากออสเตรเลีย
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.industry.gov.au/industry/industrysectors/foodmanufacturingindustry/Pages/country-of-origin-labelling.aspx
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์รา
: สรุปโดย มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น